รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การประเมินคุณค่าขององค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมย่าน ชุมชนเก่าสู่มรดกจังหวัดสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร การประชุมวิชาการะดับชาติ "ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น ครั้งที่ ๑"
ผู้แต่ง กมลนาวิน อินทนูจิตร
กมลนาวิน อินทนูจิตร
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 15 ก.พ. 2564
ปีที่ 1
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 405-415
ลักษณะบทความ บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
Abstract ย่านชุมชนเก่าจังหวัดสงขลา ตามทะเบียนย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคใต้ มีจำนวน 6 ชุมชนประกอบด้วย ย่านเมืองเก่าสงขลา เกาะยอ วิถีพุทธคลองแดน ย่านการค้าเก่าชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ท่านางหอม และ คูขุดในปัจจุบันยังคงมีองค์ประกอบด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่หลงเหลือ เป็นพื้นที่ที่แสดงออกถึงลักษณะการตั้งถิ่นฐานในเงื่อนไขของภูมินิเวศที่แตกต่างกัน ทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท มีพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานในมิติที่หลากหลายสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประจักษ์ได้จากอัตลักษณ์ที่ชัดเจนทางกายภาพและสภาพทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณีกิจกรรมและการประกอบอาชีพของชุมชน ประกอบควบคู่กันอย่างเหมาะสม ภายใต้บริบทสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เนื่องจากองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมทางด้านสังคมและวัฒนธรรมยังตั้งอยู่ในชุมชนที่มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมทั้งไทย จีน มุสลิม อย่างต่อเนื่องสู่รุ่นต่อรุ่น จากการวิเคราะห์ผลประเมินแสดงการประเมินคุณค่าองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมของย่านชุมชนเก่า จังหวัดสงขลา พบว่าคุณค่าความสำคัญของย่านชุมชนเก่าที่ความสำคัญในระดับสูง ตามเกณฑ์แหล่งศิลปกรรม คือ ย่านเมืองเก่าสงขลา รองลงมาคือ เกาะยอ วิถีพุทธคลองแดน ย่านการค้าเก่าชุมทางรถไฟหาดใหญ่ และ ท่านางหอม สำหรับคุณค่าความสำคัญของย่านชุมชนเก่าที่ความสำคัญในระดับสูงตามเกณฑ์แหล่งธรรมชาติ คือ คูขุด และ เกาะยอ จากการสำรวจทางกายภาพ แหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมหลายแห่งแม้มีบูรณสังขรณ์แต่ขาดคุณค่าอย่างเด่นชัด จำเป็นต้องมีการพัฒนาและสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแห่งชาติเป็นแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมย่านชุมชนเก่าเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนมรดกชาติ/มรดกจังหวัดต่อไป