ชื่อบทความ | การศึกษาปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมที่มีต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารพิกุล |
ผู้แต่ง |
เตชภณ ทองเติม จีรนันท์ แก้วมา |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 30 มิ.ย. 2564 |
ปีที่ | 18 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 365-383 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมที่มีต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ ตัวอย่างเป็นพระภิกษุสูงวัย จำนวน 530 รูป อายุระหว่าง 50-96 ปี (อายุเฉลี่ย 69.63 ± 7.11 ปี) ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายและการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยเอื้อที่มีต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัย ได้แก่ 1. ด้านสถานที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัย พบว่า วัดส่วนใหญ่มีลานกว้าง หรือสถานที่สำหรับเดินจงกรม (ร้อยละ 92.1) ระยะทางในการเดินบิณฑบาตที่พระภิกษุสูงวัยใช้เวลาตั้งแต่ 30 นาที ขึ้นไป (ร้อยละ 78.1) และวัดมีอุปกรณ์ออกกำลังกายของชุมชนอยู่ในบริเวณวัด (ร้อยละ 30.4) และ 2. กิจกรรมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของพระภิกษุสูงวัย พบว่า วัดส่วนใหญ่มีกิจกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะ ภายในวัด (ร้อยละ 83.8) พระภิกษุสูงวัยได้รับกิจนิมนต์ภายในวัด/นอกวัด ที่จะต้องใช้การเดินไปร่วมงาน (ร้อยละ 59.8) พระอุปัชฌาย์กำหนดให้เดินจงกรมเป็นประจำทุกวัน (ร้อยละ 57.5) และชุมชนหรือวัดมีการรณรงค์ให้พระภิกษุสูงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 42.1) 2) ปัจจัยเสริมที่มีต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายพระภิกษุสูงวัย พบว่า พระภิกษุสูงวัยส่วนใหญ่ได้รับการบริการตรวจสุขภาพประจำปีโดยสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงวัด (ร้อยละ 68.5) พระภิกษุสูงวัยได้รับการแนะนำเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่ขัดกับหลักพระพุทธศาสนาจากพระภิกษุรูปอื่นในวัด (ร้อยละ 50.6) พระภิกษุสูงวัยได้รับความรู้และคำแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับพระภิกษุจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ (ร้อยละ 43.6) อย่างไรก็ตามจากการศึกษายังพบอีกว่า มีพระภิกษุสูงวัยที่ได้รับการว่ากล่าวตักเตือนจากเจ้าอาวาสวัด หรือพระร่วมวัด เมื่อออกกำลังกาย สูงถึงร้อยละ 34.0 และได้รับการตำหนิจากประชาชนในชุมชน สูงถึงร้อยละ 38.3 ดังนั้นนอกจากจะต้องส่งเสริมปัจจัยเอื้อและเสริมให้พระภิกษุสูงวัยมีกิจกรรมทางกายแล้ว ควรจะส่งเสริมให้พระร่วมวัด เจ้าอาวาส ตลอดจนประชาชนในชุมชน ให้มีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับพระภิกษุสูงวัยด้วย |