ชื่อบทความ | ศึกษาสมบัติทางกายภาพของดินดอนและดินนาบริเวณสวนยางพารา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 6 วันที่ 1-2 เมษายน 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ผู้แต่ง |
นวรัตน์ สีตะพงษ์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 2 เม.ย. 2564 |
ปีที่ | 6 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 1156-1163 |
ลักษณะบทความ | บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของดินดอนและดินนาบริเวณสวนยางพารา โดยเก็บตัวอย่าง ดินดอนและดินนาที่ 3 ระดับความลึก คือ 20 40 และ 60 เซนติเมตร ในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาหว้า ตำบลคลองเปียะ และตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พบว่า โครงสร้างขนาดอนุภาคดินนาเป็นดินทรายแป้งและดินเหนียว มีเปอร์เซ็นที่ไหลผ่านตะแกรงและความหนาแน่นมากกว่าดินดอน โดยดินดอนมีลักษณะเป็นดินเนื้อหยาบซึ่งเป็นดินทรายและกรวด ค่าสัมประสิทธิ์ความซึมน้ำของดินนาดีกว่าดินดอน แสดงว่าดินนาสามารถกักเก็บน้ำได้ดีกว่า โดยดินดอนมีค่า pH สภาพเป็นกลาง ส่วนดินนามีสภาพเป็นกรดอ่อนถึงเป็นกลาง พบว่า ค่าสภาพนำไฟฟ้าของดินนาสูงกว่าดินดอน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.33 1.00 มิลลิซีเมนต์ต่อเมตร ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อพืช ส่วนดินนาอยู่ระหว่าง 1.00 - 4.67 มิลลิซีเมนต์ต่อเมตร ซึ่งยังอยู่ในระดับความ เค็มเล็กน้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพารา แสดงให้เห็นว่าดินดอนมีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา มากกว่าดินนา ด้วยดินนามีข้อจำกัดในเรื่องการมีน้ำขังในร่องยาง แต่สามารถแก้ไขข้อจำกัดโดยการไถยกร่องยางให้สูงขึ้นทำให้ ดินมีการระบายน้ำที่ดีขึ้น |