ชื่อบทความ | การดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดตามวิถีมุสลิมใหม่ ในตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 "การพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมสร้างสุขภาวะ" คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล |
ผู้แต่ง |
เยาวลักษณ์ เตี้ยนวน |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 16 มี.ค. 2564 |
ปีที่ | 2564 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 238-248 |
ลักษณะบทความ | บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดตามวิถีมุสลิมใหม่ในตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกชนิด กึ่งโครงสร้างร่วมกับการบันทึกภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ สตรีมุสลิมที่มีประสบการณ์ในการดูแลตนเองหลังคลอดโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามวิถีมุสลิมใหม่ จำนวน 11 คน ผลการวิจัย พบว่า สตรีมุสลิมมีการดูแลตนเองหลังคลอดในรูปแบบผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกันโรค การบำบัดอาการเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสุขภาพของมารดาหลังคลอด โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควบคู่กับการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับประเด็นความเชื่อ อาหารแสลง การใช้สมุนไพร เพื่อการดูแลสุขภาพตามคำบอกเล่าของผู้อาวุโส และโต๊ะบิแดในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชุมชนผสมกลมกลืนกันจนกลายเป็นวิถีมุสลิมใหม่ แม้บางความเชื่อหรือการกระทำบางอย่างตามวิถีภูมิปัญญาชาวบ้านไม่สามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้ แต่มีผลต่อภาวะจิตใจของผู้ปฏิบัติได้ ดังนั้นการบูรณาการระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน หากพบเจอความเชื่อหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องก็สามารถนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไปได้ เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของมารดาหลังคลอดตามวิถีมุสลิมใหม่ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดให้คงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป คำสำคัญ : การดูแลสุขภาพ, มารดาหลังคลอด, วิถีมุสลิมใหม่ |