รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
ผู้แต่ง คันธมาทน์ กาญจนภูมิ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 22 ส.ค. 2564
ปีที่ 3
ฉบับที่ 2
หมายเลขหน้า 31-39
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยเชิงความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 และ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรค การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรค การรับรู้โอกาส
เสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค ทัศนคติที่มีต่อการป้องกันโรคไวรัสโค
โรนา 2019 ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จานวน
370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติ
ตัว และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .881
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามากกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับที่ดี ร้อยละ 61.62
มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (M=4.56, SD=.682) มีการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (M=
4.67, SD=.627) มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง (M=4.18, SD=.747) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา
2019 อยู่ในระดับสูง (M=4.59, SD=.821)
2. ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคไวรัสโคโรนา 2019
ทัศนคติในการป้องกันตัวเองจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา
2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาในระดับที่ต่า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.01 (r=-.361, r=.496 และ r=.325 ตามลาดับ) และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกัน
โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาในระดับปานกลาง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(r=.546) และในทุกปัจจัยของของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกเว้น การรับรู้
ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับต่า มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางตรงข้าม
พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 จะมีประสิทธิภาพได้นั้น จาเป็นต้องมีการชี้แจงเพื่อให้
ทราบถึงสถานการณ์ รวมทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย เข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนาในการขับเคลื่อน โดยการ
ปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงจะสามารถขับเคลื่อน และขยายผลต่อไปได้อย่างยั่งยืน
คาสาคัญ: โรคไวรัสโคโรนา 2019, พฤติกรรมการป้องกันจากไวรัสโคโรนา 2019, ทัศนคติที่มีต่อการป้องกันโรค
ไวรัสโคโรนา 2019, ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019