รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับการขยายพันธุ์ไส้เดือนดินและการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน (Agricultural waste materials for earthworm propagation and vermicompost production)
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารแก่นเกษตร (Khon Kaen Agriculture Journal)
ผู้แต่ง เสาวนิตย์ ชอบบุญ
ปริญญา ทับเที่ยง
ศักดิ์ชาย คงนคร
เสาวนิตย์ ชอบบุญ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 24 ก.ย. 2567
ปีที่ 52
ฉบับที่ 5
หมายเลขหน้า 977-987
ลักษณะบทความ
Abstract วัสดุเหลือใช้ทางเกษตรจำพวกมูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ มูลวัวนม นิยมนำมาใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดินสำหรับการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีสารอาหารมากกว่ามูลของวัวไล่ทุ่งและโคขุน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์ไส้เดือนดินสายพันธุ์ AF (African Night Crawler, Eudrilus eugeniae) และผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยนำผลไม้สุกงอมจากร้านค้าและส่วนของต้นไม้จากแปลงเกษตร ได้แก่ กล้วยสุก มะม่วงสุก ฝรั่งกิมจูสุก โสน และหยวกกล้วย ผสมกับมูลวัวนมใช้สำหรับเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์ AF โดยการวางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) จากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าฝรั่งกิมจูสุกเหมาะสำหรับเป็นอาหารของไส้เดือน รองลงมาคือ หยวกกล้วย ในขณะที่กล้วยสุกและมะม่วงสุกไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นอาหารของไส้เดือน จากการศึกษาปริมาณผลผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ถุงไข่ จำนวนตัว และน้ำหนักของไส้เดือนโดยวิธีสุ่มสมบูรณ์ และเพาะเลี้ยงนาน 30 วัน พบว่าสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 2,500 กรัม และ 1,000 ต่อ 2,000 กรัม ให้ผลผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนสูงสุด เท่ากับ 2,313.33 ± 37.24 และ 1,896.67 ± 149.76 กรัม ตามลำดับ จำนวนถุงไข่ไส้เดือนสูงสุด เท่ากับ 738.50 ± 56.00 ถุง รองลงมา คือ 426.00 ± 43.88 ถุง ได้จากอาหารที่มีส่วนผสมของฝรั่งสุกต่อมูลวัวกิมจูสุกต่อมูลวัวนมในสัดส่วน 500 ต่อ 2,500 กรัม และสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 2,500 กรัม ตามลำดับ และพบว่าอาหารผสมฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนม เท่ากับ 1,000 ต่อ 2,000 กรัม ให้จำนวนไส้เดือนมากที่สุด เท่ากับ 898.00 ตัว ± 60.04 ตัว ตามด้วยสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 500 ต่อ 2,000 และ 333 ต่อ 333 ต่อ 2,333 กรัม มีจำนวนไส้เดือน เท่ากับ 584.33 ± 86.83 และ 533.00 ± 17.32 ตัว ตามลำดับ และน้ำหนักตัวสูงสุดของไส้เดือน เท่ากับ 211.13 ± 5.99 และ 135.42 ± 4.60 กรัม จากการเลี้ยงด้วยส่วนผสมของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนมในสัดส่วน 500 ต่อ 2,500 กรัม และผลฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนมในสัดส่วน 500 ต่อ 2,500 กรัม ตามลำดับ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสำหรับเกษตรกรที่ต้องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนและผลผลิตไส้เดือนควรเลือกใช้สูตรอาหารที่มีสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 2,500 กรัม และปุ๋ยมูลไส้เดือนมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมดเป็นไปตามเกณฑ์ของประกาศกรมวิชาการเกษตร กรณีที่ต้องการขยายพันธุ์ไส้เดือนดินสายพันธุ์ AF ควรเลือกใช้สูตรอาหารที่มีสัดส่วนของฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนม เท่ากับ 1,000 ต่อ 2,000 กรัม
Agricultural waste materials such as ruminant manure, i.e. milk cow manure, are widely used as earthworm feed for vermicompost production as they contain more nutrients than manure of field cows and fattening cows. The objective of this research is to propagate AF earthworms (African Night Crawler, Eudrilus eugeniae) and produce vermicompost using agricultural waste materials. The ripe fruits and tree parts collected from fruit shops and agricultural plots such as ripe bananas, ripe mangoes, ripe guavas, sesbania, and banana leaf sheath were mixed with cow manure for feeding AF earthworms by using a completely randomized design (CRD). The preliminary study found that ripe guava was suitable for earthworms following by banana leaf sheath, respectively, while ripe bananas and ripe mangoes were unsuitable for feeding of earthworms. Study in the amount of vermicompost yield, cocoon, number, and body weight of earthworms by CRD for 30 days showed the ratio of banana leaf sheath: cow manure as 500:2,500 g and 1,000:2,000 g were the highest vermicompost yield as 2,313.33 ± 37.24 and 1,896.67 ± 149.76 g, respectively. The highest number of cocoons as 738.50 ± 56.00 following by 426.00 ± 43.88 sacs from the ratio of ripe guavas: cow manure as 500:2,500 g and the ration of banana leaf sheath: cow manure as 500:2,500 g, respectively. The study of number of earthworms showed ripe guavas: cow manure as 1,000:2,000 g, were the highest number of earthworms as 898.00. ± 60.04 followed by ratio of banana leaf sheath: ripe guavas: cow manure as 500:500:2,000 and 333:333:2,333 g showed the number of earthworms as 584.33 ± 86.83 and 533.00 ± 17.32 respectively. The highest body weight of earthworms of 211.13 ± 5.99 and 135.42 ± 4.60 g from the mixed of banana leaf sheath: cow manure as 500:2,500 g and ripe guavas: cow manure as 500:2,500 g, respectively. The results of the study show that vermicompost production and earthworm production should be formulated with a ratio of leaf sheath to cow manure equal to 500:2,500 g. The vermicompost contains total nitrogen, phosphorus and potassium content in accordance with the criteria of the Department of Agriculture announcement. The propagation of Eudrilus eugeniae should be chosen a recipe with a ratio of 1,000:2,000 g of ripe guava to milk cow manure.