ชื่อบทความ | การพัฒนาระบบควบคุมอัจฉริยะสาหรับโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์ออเร้นจ์แมน บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ผู้แต่ง |
ลัญฉกร นิลทรัตน์ ศรัณย์ ณรงค์กูล |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 6 ส.ค. 2567 |
ปีที่ | 43 |
ฉบับที่ | 6 |
หมายเลขหน้า | 320-331 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | บทความวิจัยนี้นำเสนอระบบควบคุมอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์ออเร้นจ์แมน บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet of things) สถานที่วิจัย ณ ออร์แกนิค คอมพลีทฟาร์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบควบคุมอัจฉริยะและควบคุมสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้มีความเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นกล้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านทานโรคพืชก่อนนำต้นกล้าลงปลูกในโรงเรือน การออกแบบโครงสร้างโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าสามารถรองรับการเพาะเลี้ยงได้สูงสุด 360 ต้น เพื่อให้ได้ต้นอ่อนเมล่อนที่สมบูรณ์สำหรับนำไปปลูกต่อในโรงเรือนระบบปิด ขนาด 6001800300 ซม. โดยระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วนได้แก่ 1) การออกแบบโรงเรือนอนุบาลต้นกล้า 2) การออกแบบวงจรควบคุม 3) การออกแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 4) การออกแบบผังงาน และ 5) การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานด้วยแพลตฟอร์มบริงไอโอที (Blynk IoT platform) เวอร์ชัน (Version) 2.0 เพื่อแสดงผลบนเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) และบนโมบายแอปพลิเคชัน (Mobile application) ผลการทดสอบพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงผลและควบคุมการทำงานได้อย่างแม่นยำ ระบบควบคุมอัตโนมัติทำงานถูกต้องตามเงื่อนไข นอกจากนี้พบว่าระบบสามารถเพิ่มอัตราการงอกและประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่นได้สูงขึ้น มีอัตราการงอกสมบูรณ์ร้อยละ 93.33 เมื่อเทียบกับการอนุบาลปลูกแบบดั้งเดิม ด้านความสูงพบว่าต้นกล้าที่ปลูกผ่านระบบมีความสูงเฉลี่ย 6.5 ซม. เมื่อเทียบกับการปลูกแบบดั้งเดิมมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.76 ซึ่งเห็นได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มอัตราการงอกและลดความเสียหายของ ต้นกล้าเมล่อนญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ |