รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
ผู้แต่ง จุไรศิริ ชูรักษ์
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 6 มี.ค. 2567
ปีที่ 8
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 112-133
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา 2)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ 3)เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็มและ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยมีแบบแผนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอนคือ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้2) สร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้3) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็งกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา จ านวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t -test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกันผลการวิจัยพบว่า หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลาประกอบด้วย (1) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ (2) ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ (3) ตารางความสัมพันธ์ของมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ผลการเรียนรู้และเวลา (4) เวลาเรียน (5) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (6) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้(7) การวัดและการประเมินผล และ (8) แผนการจัดการเรียนรู้จ านวน 3 แผน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติการแสดงซัมเป็ง หลังการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดร้อยละ 70 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก