ชื่อบทความ | การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์ของพนักงานโรงงานผลิตยางแผ่น รมควันเพื่อลดความเหนื่อยล้าในการทำงาน |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
ผู้แต่ง |
วีรชัย มัฎฐารักษ์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 1 ส.ค. 2567 |
ปีที่ | 13 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 13-21 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพ ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความเหนื่อยล้าใน การท างาน ก่อนและหลังการออกแบบปรับปรุงสถานีงาน โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัย สภาพแวดล้อม ตัวอย่างคือพนักงานโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน สหกรณ์กองทุนสวนยาง ต าบลไม้เรียง อ าเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาปัญหาสุขภาพ พบค่าดัชนีความผิดปกติ (AI) มีค่าที่ต้องเอาใจใส่และระมัดระวัง และเป็นค่าที่รับไม่ได้ให้แก้ไขทันที ผลการศึกษาภาระงานต่อกล้ามเนื้อ พบว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูง ส่วนผล การศึกษาความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ก่อนปรับปรุง จากการประเมินด้วยวิธี RULA มีค่าเฉลี่ย 10ส่วนวิธี REBA มี ค่าเฉลี่ย 13 หมายถึงมีระดับปัญหาทางการยศาสตร์ที่ควรท าการปรับปรุง ส่วนผลการศึกษาความเหนื่อยล้าด้วย แบบสอบถามของไปเปอร์ ก่อนปรับปรุง มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้าน 139 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 6.32แสดงว่าพนักงานมี ความเหนื่อยล้าระดับปานกลาง จากการน าเสนอแนวทางการปรับปรุงสถานีงานโดยการออกแบบอุปกรณ์ล าเลียงยาง แผ่นซึ่งใช้ข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกายตัวอย่าง ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อม ประกอบการปรับปรุง ผลการประเมินอุปกรณ์จากผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ช านาญการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.20 ซึ่งอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก ผล การเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง พบว่าการประเมินด้วยวิธี RULA จากเดิม มีค่าเฉลี่ย 10 ลดเหลือ 7 สอดคล้องกับผลการประเมินด้วยวิธี REBA จากเดิม มีค่าเฉลี่ย 13 ลดเหลือ 6.67 ซึ่งหมายถึงงานนั้นยังมีปัญหาที่ ควรท าการศึกษาเพิ่มเติมและปรับปรุงลักษณะงานดังกล่าวต่อไป ส่วนผลการศึกษาความเหนื่อยล้า ก่อน-หลัง การ ปรับปรุง จากเดิม ค่าเฉลี่ย 6.32 ลดเหลือ 4.80 โดยผลการเปรียบเทียบการประเมินความเหนื่อยล้าพบว่ามีค่าระดับ คะแนนลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์ |