ชื่อบทความ | แนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา: กรณีศึกษาคาบสมุทรสทิงพระ |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ผู้แต่ง |
ภัทริยา สังข์น้อย หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์ ประภาพร ยางประยงค์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 5 ก.ค. 2567 |
ปีที่ | 43 |
ฉบับที่ | 3 |
หมายเลขหน้า | 445-456 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 3) แนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 22 คน และใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบตามสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีลักษณะสำคัญ คือ ดำเนินชีวิตตามวิถีโหนด-นา-เล และให้ความสำคัญกับความเชื่อและศาสนาที่นับถือ 2) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจุดประสงค์หลักของการเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และ 3) แนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คือ การสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว โดยการวางแผนแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่สมาชิกในชุมชน จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ และการพัฒนาที่พักที่ให้มีมาตรฐาน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระสามารถนำไปเป็นแนวทางกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระให้เป็นที่ พึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวและรายได้ของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น |