รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่อง “มหัศจรรย์หัวเขา” โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเกมกระดานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ผู้แต่ง นางสาวนิซอฟูว์ บินหะยีนิยิ
จุไรศิริ ชูรักษ์
อุรารัตน์ ปานรอด
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 30 ม.ค. 2567
ปีที่ 14
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 351-362
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเกมกระดานและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเกมกระดานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 30 คน โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังได้รับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเกมกระดาน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับเกมกระดานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การวิจัยครั้งนี้ช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในวิชาภาษาอังกฤษต่อไป