ชื่อบทความ | การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีบูรณาการการสอนของเมอร์ดอค (MIA) ร่วมกับผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้แต่ง |
นางสาวฟาติน หะยีหามะ จุไรศิริ ชูรักษ์ นิสิตา ฤทธาภิรมย์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 31 มี.ค. 2567 |
ปีที่ | 52 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 1-15 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีบูรณาการสอนของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) จํานวน 26 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 My hometown หน่วยการเรียนรู้ย่อย เรื่อง Places จํานวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ข้อและ3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับของลิเคิร์ทสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to: 1) compare the students English reading comprehension abilities between before and after learning management, 2) compare the students English reading comprehension abilities after learning management with the criteria of 70%, and 3) study the students satisfaction on learning management based on Murdoch Integrated Approach (MIA) with graphic organizers. The sample group is comprised of 26 grade 3 students at Thesaban 3 (Wat Sala Huayang) in the first semester of theacademic year 2023, by using cluster random sampling. The research instruments consisted of 1) 5 lesson plans in English subject, unit 2 My hometown, the topic is Places, 2) an English reading comprehension ability test, 4 Multiple choices, 20 questions. and 3) the students satisfaction questionnaire, It is a roughly 5-point Likert scale. The statistics used in the data analysis were mean (M), standard deviation (SD), and t-test. The results of this research showed that: 1) the English reading comprehension abilities of students after learning management based on Murdoch Integrated Approach (MIA) with graphic organizers was higher than before learning management with statistically significant at the .05 level, 2) the English reading comprehension abilities of students after learning management was higher than the criteria of 70% with statistically significant at the .05 level, and 3) the students satisfaction on learning management was at a high level. |