รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การประยุกต์ใช้สารสกัดหยาบจากหอมแดงในการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อไก่อบ
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย.
ผู้แต่ง อภิญญา บุญรอง
อัจฉรา เพิ่ม
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 29 มี.ค. 2567
ปีที่ 9
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 20-29
ลักษณะบทความ
Abstract การแก้ปัญหาเชื้อ Salmonella spp. ปนเปื้อนในเนื้อไก่โดยการใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมีสามารถลดผลข้างเคียง ที่จะเกิดกับผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากหอมแดงในการยับยั้งเชื้อ Salmonella spp. และการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อไก่อบ จากการทดสอบพบว่าสารสกัดหยาบจากหอมแดงที่ความเข้มข้น 2,500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Salmonella spp. โดยวิธี Disc diffusion จำนวน 17 สายพันธุ์ มีช่วงโซน การยับยั้ง 15-18 มิลลิเมตร สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Salmonella spp. จำนวน 17 สายพันธุ์ และทำลายเชื้อ Salmonella spp. จำนวน 15 สายพันธุ์โดยวิธี Broth microdilution เมื่อนำเนื้อไก่อบผสมสารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้จำนวนเชื้อ Salmonella sp. (S4) ลดลงจาก 6.40 เป็น 3.40 log CFU ต่อกรัม ในการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 วัน สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 4,000 และ 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้ค่าความสว่าง (L*) ของเนื้อไก่อบลดลง แต่ค่า a* และค่า b* ของเนื้อไก่อบเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับชุดควบคุม สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลทำให้เนื้อไก่อบมีค่าความสว่าง (L*) ค่า a* และค่า b* อยู่ในช่วง 51.31-52.16, 3.19-3.38 และ 18.65-18.93 ตามลำดับ ค่าความหืนของเนื้อไก่อบลดลง เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ความหืนของเนื้อไก่อบที่ใช้สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรอยู่ในช่วง 3.17-3.29 และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 6 วัน ดังนั้นสารสกัดหยาบจากหอมแดงสามารถประยุกต์ใช้ในการยืดอายุ เนื้อไก่อบต่อไป