ชื่อบทความ | การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเชื่อมระหว่างอ าเภอเมืองสงขลา และ อ าเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา: การประเมินผลกระทบทางด้านสังคม |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมยุทธศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 การพัฒนาข้ามพรมแดน (Transborder Development) โดยสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย |
ผู้แต่ง |
ไชยา เกษารัตน์ สุวิมล บัวทอง ปิยะนุช พระประสิทธิ์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 15 ม.ค. 2567 |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 54-55 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสังคม และนำเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขจากผลกระทบทางด้านสังคมจากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเชื่อมระหว่างอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ภาครัฐ 2) ภาคเอกชน และ 3) ภาคประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 22 คน โดยพิจารณาจากหน้าที่ บทบาท และความเกี่ยวข้อง ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตีความ และสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบทางด้านสังคม แบ่งออกเป็น 2 มิติ: มิติที่ 1 ด้านคุณค่าต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ มีผลกระทบ ได้แก่ (1) ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน) และ (2) ด้านการคมนาคม (ผลกระทบต่อการเดินทาง และการขนส่ง และมิติที่ 2 ด้านคุณค่าคุณภาพชีวิต มีผลกระทบได้แก่ (1) ด้านอาชีพ (ผลกระทบต่ออาชีพค้าขาย และอาชีพการท าประมง) (2) ด้านรายได้ (ผลกระทบทางบวก คือการมีรายได้เพิ่มขึ้น) และ (3) ด้านแรงงานและการจ้างงาน (ผลกระทบทางบวก คือแรงงานเพิ่มมากขึ้น และ 2) มาตรการป้องกันและแก้ไขจากผลกระทบทางด้านสังคม แบ่งออกเป็น 2 มิติ: มิติที่ 1 ด้านคุณค่าต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ มีมาตรการป้องกันและแก้ไข ได้แก่ (1) ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (มาตรการจัดหาที่อยู่ และการเยียวยาจากภาครัฐ) และ (2) ด้านการคมนาคม (มาตรการด้านจราจร และการเปิดเส้นทางขณะก่อสร้าง) และมิติที่ 2 ด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต มีมาตรการป้องกันและแก้ไข ได้แก่ (1) ด้านอาชีพ (มาตรการจัดหาอาชีพหลังการก่อสร้าง และการเยียวยาด้านอาชีพขณะก่อสร้าง) (2) ด้านรายได้ (มาตรการเยียวยาจากภาครัฐ และการส่งเสริมอาชีพ) และ (3) ด้านแรงงานและการจ้างงาน (มาตรการการจัดหางาน และการช่วยเหลือหรือการชดเชย) คำสำคัญ: การศึกษาความเป็นไปได้ การประเมินผลกระทบทางสังคม โครงการก่อสร้างสะพาน |