รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อไก่เบตงกับไก่ประดู่หางดำ และไก่คอล่อนภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อย
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารเกษตรพระวรุณ
ผู้แต่ง ครวญ บัวคีรี
ครวญ บัวคีรี
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 12 ก.ค. 2566
ปีที่ 20
ฉบับที่ 2
หมายเลขหน้า 160-166
ลักษณะบทความ
Abstract บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และองค์ประกอบทางเคมีในเนื้อของไก่เบตงกับไก่ประดู่หางดำ และไก่คอล่อน ภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อย วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ ไก่ประดู่หางดำ ไก่คอล่อน และไก่เบตง ที่อายุ 10 สัปดาห์ คละเพศ จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 15 ตัว จนกระทั่งอายุ 18 สัปดาห์ ใช้อัตราการเลี้ยง 2.5 ตารางเมตรต่อตัว โดยมีพื้นที่คอกดิน 5x7.5 ตารางเมตร ภายในมีเพิงขนาด 2x2.5 ตารางเมตร บริเวณที่เหลือเป็นพื้นหญ้าและพืชธรรมชาติ แต่ละคอกกั้นด้วยตาข่าย ผลการวิจัย พบว่า ไก่เบตงมีน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการกินได้ต่อวัน อัตราการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก และต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ตลอดช่วงอายุ 10-18 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกับไก่ประดู่หางดำ และไก่คอล่อน (p > 0.05) เช่นเดียวกับคุณภาพซากของไก่เบตงที่มีน้ำหนักตัวก่อนฆ่า น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักซากเย็น และ % ซาก ไม่แตกต่างกับไก่ประดู่หางดำ และไก่คอล่อน (p > 0.05) ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แต่ไก่เบตงเพศเมียมี %ชิ้นส่วนสะโพกมากกว่าไก่ประดู่หางดำแต่ไม่แตกต่างกับไก่คอล่อน สำหรับค่าองค์ประกอบเคมีในเนื้อหน้าอก ได้แก่ %ความชื้น % โปรตีน และ % ไขมัน ของไก่เบตงไม่แตกต่างกับไก่ประดู่หางดำ และไก่คอล่อนทั้งในเพศผู้และเพศเมีย (p > 0.05) แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงไก่เบตงภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงไก่พื้นเมือง

คำสำคัญ: ระบบการลี้ยงแบบกึ่งปล่อย ไก่เบตง สมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อ

ABTRACT
The objective of this study was to compare production performance, carcass characteristic and chemical composition of Betong, Phadu-Hangdum and Naked-Neck chicken under the semi free range system. This study was a completely randomized design to 3 treatments with 3 replications each replication with 15 birds. 10 weeks old (mix-sex) of Betong, Phadu-Hangdum and Naked-Neck chickens raised 2.5 m2/head in a semi free range system (area of 5x7.5 m2 and 2x2.5 m2 of shed) until 18 weeks of age. The rest of the area was grass and natural plants but each pen was fenced with a net. Results showed that body weight, body weight gain, average daily feed intake, average dairy gain, feed conversion ratio and feed cost per gain of Betong chickens throughout the 10–18 weeks period had no difference compared with Phadu-Hangdum and Naked-Neck chickens (p > 0.05). The same as the carcass characteristic of Betong chicken live weight, warm carcass weight, chilled carcass weight and % of carcass were not different compared with Phadu-Hangdum and Naked-Neck chickens in both males and females (p > 0.05). But female Betong chickens had higher % of thigh than Phadu-Hangdum chickens but were not different Naked-Neck chickens. In term of the chemical composition in breast meat was % moisture, % protein and % fat of Betong chickens were not different Pradu-Hangdum and Naked-Neck chickens in both males and females (p > 0.05). Shows that rearing Betong chickens under the semi free range system is another option for farmers who are interested in raising native chickens.
Keyword: Semi free range system, Betong chicken, Production performance, Carcass characteristic, Meat chemical composition