รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การพัฒนาสูตรท้องถิ่น เรื่อง สงขลาบ้านเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมสึกษา ศาสนา และวัมนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ
ผู้แต่ง การพัฒนาสูตรท้องถิ่น เรื่อง สงขลาบ้านเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมสึกษา ศาสนา และวัมนธรรม อำเภอเมือ
พนัชกร พิทธิยะกุล
ไหมไทย ไชยพันธ์ุ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 31 ต.ค. 2565
ปีที่ 7
ฉบับที่ 10
หมายเลขหน้า 14-26
ลักษณะบทความ
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรท้องถิ่น เรื่อง “สงขลาบ้านเรา”กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา สําหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิเชียรชม อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา50 คน รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ 50 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม52 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกประชุมปฏิบัติการ แบบสํารวจ แบบสัมภาษณ์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์การวิจัยผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง “สงขลาบ้านเรา”กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นและสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.23และเนื้อหาเรื่องประวัติความเป็นมาของจังหวัดสงขลา มีระดับความต้องการมากที่สุด ค่าเฉลี่ย4.39รองลงมา คือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ค่าเฉลี่ย 4.38ลักษณะทางเศรษฐกิจมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 4.12การตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง“สงขลาบ้านเรา”1)ลักษณะทางภูมิศาสตร์2) ประวัติความเป็นมา 3) ลักษณะทางประชากร 4) บุคคลสําคัญ5) ลักษณะทางเศรษฐกิจ 6) ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม และ 7) การอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เวลา6 สัปดาห์สัปดาห์ละ3ชั่วโมง รวม18 ชั่วโมง องค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.96ค่าดัชนีความสอดคล้องแต่ละข้อตั้งแต่ 0.60-1.00เท่ากับ 0.96ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้สถานศึกษาได้นําหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง “สงขลาบ้านเรา”ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของท้องถิ่น และได้นําความรู้คืนกลับสู่ชุมชนอย่างแท้จริงคําสําคัญ:การพัฒนาสูตรท้องถิ่น, สงขลาบ้านเรา, กลุ่มสาระการเรียนรู้, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม