ชื่อบทความ | ความแปรผันทางสัณฐานวิทยาของหอยเสียบ (Donax faba Gmelin, 1791) และปัจจัย สิ่งแวดล้อมบางประการบริเวณหาดบางหอยและหาดบางเรือนาค จังหวัดสงขลา |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | ว.วิทย. มข. |
ผู้แต่ง |
นุชจรินทร์ เพชรเกลี้ยง |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 4 ก.พ. 2565 |
ปีที่ | 49 |
ฉบับที่ | 4 |
หมายเลขหน้า | 351-361 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | หอยเสียบ (Donax faba Gmelin, 1791) เป็นหอยสองฝาที่พบบริเวณชายฝั่งทะเล ชุมชนนำมาใช้เป็นอาหารท้องถิ่น มี ลักษณะเปลือกที่หลากหลายและยังมีการศึกษาความแปรผันทางสัณฐานวิทยาน้อย โดยเฉพาะบริเวณชายหาด อำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา จึงได้เก็บตัวอย่างหอยเสียบในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2563 จากทั้งหมด 4 สถานี เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา และปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการในแหล่งอาศัย ผลการศึกษาพบว่า หอยเสียบที่อาศัยอยู่บริเวณหาดบางหอยและหาดบางเรือนาค มี ทั้งหมด 8 รูปแบบ สีและลวดลายของเปลือกหอยที่พบมากที่สุดคือแบบ F มีลักษณะเปลือกค่อนข้างเหลือง จนถึงน้ำตาลแดง มีเส้น ลวดลายในแนวนอน และเส้นลวดลายแฉกรัศมีสีม่วงแซมด้วยสีเหลืองน้ำตาลจากส่วนยอดของเปลือก เปลือกหอยทั้งหมดมีความกว้าง เฉลี่ย 21.99±2.37 มิลลิเมตร ความสูงเฉลี่ย 14.04±1.94 มิลลิเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 1.85±0.61 กรัม อุณหภูมิของน้ำและดิน ความ เป็นกรด-ด่างของน้ำและดิน ความเค็มของน้ำมีค่าใกล้เคียงกันทุกสถานี ปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ในช่วง 0.01 0.21 เปอร์เซ็นต์ และ ขนาดอนุภาคตะกอนดินส่วนใหญ่เป็นทรายละเอียด และทรายหยาบมาก เมื่อเปรียบเทียบขนาดของหอยเสียบ D. faba ระหว่างเปลือก ทั้ง 8 รูปแบบ พบว่า ความกว้างและน้ำหนักเฉลี่ยไม่แตกต่างกันแต่ความสูงของเปลือกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในแต่ละสถานีพบหอยทั้ง 8 แบบ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน พบหอยขนาดใหญ่ที่สุดที่หาดบางเรือนาคในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากความแปรผันของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในแต่ละสถานีและช่วงเวลา โดยเฉพาะขนาดตะกอนดิน และปริมาณอินทรียวัตถุ ที่ทำให้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหอยเสียบมีความแตกต่างกัน |