รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การพัฒนาทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้คำสอนของพ่อ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9) สำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัดเทศบาลนครสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับการพัฒนาท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 3.
ผู้แต่ง อมลวรรณ วีระธรรมโม
พนัชกร พิทธิยะกุล
กนกพร มุสิกะจินดา
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 2 ส.ค. 2564
ปีที่ -
ฉบับที่ -
หมายเลขหน้า 975-983
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ โดยใช้คำสอนของพ่อ
(พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ร่วมกับกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู และ
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้คำสอนของพ่อพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ร่วมกับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (ถนนนครนอก) สังกัดเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา
จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง ห้องเรียนละ 30 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ( Cluster
sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียน และ
การคิดวิเคราะห์ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
พื้นฐาน (ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอ้างอิง (t-test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนใช้คำสอนของพ่อ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ร่วมกับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูมีคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 18.70 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน มีคะแนนมากที่สุด 22 คะแนน และคะแนนต่ำสุด 15 คะแนน ส่วนหลังใช้
มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 28.50 คะแนน มีคะแนนมากที่สุด 30 คะแนน และคะแนนต่ำที่สุด 26 คะแนน และ 2) นักเรียนมี
คะแนนทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์หลังมากกว่าก่อนการใช้คำสอนของพ่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช
(รัชกาลที่ 9) ร่วมกับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05