ชื่อบทความ | การรับรู้ความเสี่ยงทางสุขภาพของคนชายแดนไทย มาเลเซีย |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ 20 มหาวิทยาลัยทักษิณ |
ผู้แต่ง |
สุกัญญา บูอีตำ ภัชชนก รัตนกรปรีดา วรพล หนูนุ่น |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 30 ก.ค. 2564 |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 43 53 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงทาง สุขภาพตามการรับรู้ของคนชายแดนไทย มาเลเซีย ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรในพื้นที่ชุมชนจุดผ่านแดนถาวร 9 แห่ง ช่วงเดือนมกราคม ธันวาคม 2562 ด้วย 1) การ สัมภาษณ์เชิงลึก 3 กลุ่ม รวม 99 คน 2) การสังเกตในสถานการณ์ต่าง ๆ 12 ครั้ง 3) การสนทนากลุ่ม 4 ครั้ง และ 4) การวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 22 รายการ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ถูกตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจ านวน 2 ท่านก่อนน าไปใช้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลของ โคไลซี่ ผลการวิจัยพบว่าความเสี่ยงทางสุขภาพตามการรับรู้ของคนชายแดนไทย มาเลเซีย มี 5 ประเด็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ ดังนี้ 1) การอุปโภคและบริโภคสินค้าชายแดนผิดกฎหมาย 2) การ สะสมและกักตุนสินค้าอุปโภค/บริโภคอันตราย 3) โรคติดต่ออันตรายข้ามแดน 4) สภาวะสุขภาพจิต และการติดยาเสพติด และ 5) อนาคตของเด็กและเยาวชนเนื่องจากระดับความผูกพันในครอบครัว ลดลง ในภาพรวมท าให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่และคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่เป็นความ เสี่ยงทางสุขภาพ ทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ดังนั้นรัฐโดยกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยจึงควรมีมาตรการเพิ่มเติมและมีการการบูรณาการหน้าที่ของบุคลากรที่ เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขให้มีสมรรถนะในการควบคุมป้องกันความเสี่ยงทางสุขภาพ ของคนชายแดนไทย มาเลเซีย เพิ่มเติมจากเดิมที่เป็นเพียงด่านควบคุมโรคเท่านั้น คำสำคัญ: ความเสี่ยงด้านสุขภาพ, ปรากฎการณ์วิทยา, ชายแดนไทย มาเลเซีย, ด่านควบคุมโรค |