ชื่อบทความ | สมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาคของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง 356 กับ 7075 ด้วยเทคนิค การเชื่อมแพร่แบบผ่านเฟสของเหลว |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ผู้แต่ง |
ชัยยุทธ มีงาม |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 4 ม.ค. 2562 |
ปีที่ | 2019 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 102-112 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างทางโลหะวิทยาของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง เกรด 356 และเกรด 7075 ด้วยการวิธีการเชื่อมแพร่แบบผ่านเฟสของเหลว โดยใช้สังกะสีผสม เกรด ZA 27 เป็นวัสดุประสาน ชิ้นงานอะลูมิเนียมหล่อ กึ่งแข็งเตรียมเป็นรูปทรงกระบอก เป็นการเชื่อมแบบต่อชน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มิลลิเมตร ความยาว 45 มิลลิเมตร และ สังกะสีผสมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มิลลิเมตร หนา 0.25 มิลลิเมตร ตัวแปรในการเชื่อมแพร่ผ่านเฟสของเหลว ได้แก่ เวลา ในการกดแช่ 60 นาที และ 120 นาที อุณหภูมิในการเชื่อม 450, 500 และ 550 องศาเซลเซียส ตามล�าดับ แรงกด 4 MPa อัตรา การไหลของแก๊สอาร์กอนปกคลุม 4 ลิตร/นาที จากการประเมินผลการทดลองพบว่าลักษณะทางกายภาพของชิ้นงานหลังการ เชื่อมยึดติดได้ดีทุกการทดลอง ลักษณะโครงสร้างจุลภาคบริเวณรอยต่อเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างเดิมของวัสดุ แสดงให้เห็น ว่าขนาดของเกรนโตขึ้น เพราะอิทธิพลของความร้อน อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิเชื่อม 550 องศาเซลเซียส ที่เวลาเชื่อม 120 นาที แสดงให้เห็นว่ามีโพรงอากาศเกิดขึ้นหลังจากการเชื่อม การทดสอบแรงดึงพบว่าชิ้นงานเกิดการขาดบริเวณรอยต่อทุกการทดลอง โดยอุณหภูมิเชื่อม 500 องศาเซลเซียส ที่เวลาเชื่อม 60 นาที มีค่าแรงดึงเฉลี่ยสูงสุดที่ 103.06 MPa และผลของการทดสอบความ แข็งพบว่าบริเวณรอยต่อมีแนวโน้มที่ให้ค่าความแข็งสูงกว่าบริเวณอื่นของชิ้นงาน อย่างไรก็ตามเทคนิคการการเชื่อมแพร่แบบ ผ่านเฟสของเหลวสามารถลดเวลาในกระบวนการเชื่อมแพร่ได้ |