ชื่อบทความ | รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนจังหวัดสงขลา |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสาร วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ |
ผู้แต่ง |
จันติมา จันทร์เอียด |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 1 ก.ค. 2564 |
ปีที่ | 2564 |
ฉบับที่ | 38 |
หมายเลขหน้า | 139 - 167 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ กระบวนการ และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน โดยมีวิสาหกิจชุมชน 6 กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้อาวุโส/ปราชญ์ชุมชน 1 คน/กลุ่ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 คน/กลุ่ม และผู้ประกอบอาชีพการจักสาน ไม่น้อยกว่า 5 ปี 7 คน/กลุ่ม รวมทั้งหมด 54 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ (1) ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม และ (2) ความรู้ใหม่ที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ สำหรับกระบวนการจัดการความรู้ พบว่า มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การกำหนดความรู้จากบรรพบุรุษมากำหนดผลิตภัณฑ์ผ่านการคิดและตัดสินใจร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม (2) การแสวงหาและยึดกุมความรู้ เป็นความรู้ได้มาจากทั้งภายในและภายนอกกลุ่มเพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น (3) การแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มเพื่อให้สมาชิกกลุ่มมีทักษะการผลิตมากขึ้น (4) การจัดเก็บความรู้เป็นการจดจำด้วยการฝึกปฏิบัติ และ (5) การถ่ายทอดความรู้จากบุคคลสู่บุคคลโดยการสาธิต ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ พบว่า สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ และมีความเชื่อมั่นของผู้นำกลุ่มรวมไปถึงข้อค้นพบที่สำคัญของการวิจัย คือ การพึ่งตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตเครื่อง จักสานซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนั้นประชาชนในชุมชนยังเห็นคุณค่าและหันมาใช้สินค้า ที่ผลิตจากสมาชิกกลุ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมจักสานมากขึ้น คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น หัตถกรรมเครื่องจักสาน วิสาหกิจชุมชน |