ชื่อบทความ | ค่าเสียโอกาสจากการทำประมงกุ้งขาวด้วยเครื่องมือโพงพางและอวนลอย:ความจริงที่มองไม่เห็น |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม |
ผู้แต่ง |
อรรถพล นางแก้ว คมวิทย์ ศิริธร |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 23 ธ.ค. 2564 |
ปีที่ | 17 |
ฉบับที่ | 2 |
หมายเลขหน้า | 42-59 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | เครื่องมือหลักที่ใช้ทำประมงกุ้งขาวพื้นบ้านในปัจจุบัน คือ โพงพางและอวนลอย ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการจับกุ้งที่ไม่ได้ขนาดทั้งสิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือประเภทโพงพาง ส่งผลต่อการลดลงของจำนวนกุ้งในแหล่งธรรมชาติอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงได้ประเมินทั้งความสูญเสียและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำประมงกุ้งขาว เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการใช้เครื่องมือทั้งสองแบบ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และจดบันทึกปริมาณการจับ ตลอดจนน้ำหนักกุ้งที่จับได้ในแต่ละรอบจากชาวประมงที่ใช้เครื่องมือแต่ละประเภทในตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง โดยใช้หลักการวิเคราะห์ต้นทุนค่าเสียโอกาส ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน ผลการวิเคราะห์พบว่า การทำประมงด้วยโพงพางก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการจับกุ้งที่ไม่ได้ขนาดสูงถึง 31,374.00 บาท/รอบ ในขณะที่การใช้อวนลอยก่อให้เกิดความสูญเสียเพียง 24,975.00 บาท/รอบ และเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการใช้เครื่องมือทั้งสองพบว่า การทำประมงกุ้งขาวด้วยอวนลอยก่อให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าการใช้โพงพาง ดังนั้นหน่วยงานที่กำกับดูแลการทำประมงในพื้นที่จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชาวประมงให้เห็นถึงความคุ้มค่าจากการทำประมงด้วยอวนลอย เพื่อจูงใจให้ชาวประมงเปลี่ยนมาใช้อวนลอยทดแทนโพงพางที่ใช้ตั้งแต่ในอดีต |