ชื่อบทความ | ซากดึกดำบรรพ์ในหินตะกอนที่บ่อดินบ้านทุ่งเสม็ด อำเภอละงู อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ (GNRU) ครั้งที่ 21 |
ผู้แต่ง |
พิชญ์พิไล ขุนพรรณราย บรรจง ทองสร้าง |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 9 มิ.ย. 2564 |
ปีที่ | 21 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 246-259 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | ศึกษาชนิด ยุคตามช่วงเวลาของธรณีกาลของซากดึกดำบรรพ์ที่เนินหินของบ้านทุ่งเสม็ด อำเภอละงู บริเวณอุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ทำการเก็บตัวอย่างหินที่พบซากดึกดำบรรพ์จากเนินหินโผล่ 2 เนินที่วางตัวทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ศึกษา โดยการเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ที่เคยค้นพบในพื้นที่อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูลจากหนังสือคู่มือผู้เล่าเรื่องธรณีฟอสซิลแลนด์แดนสตูล จากการลงพื้นที่สำรวจและการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบซากดึกดำบรรพ์จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ นอติลอยด์ สโตรมาโตไลต์ แกรปโตไลต์ ไทรโลไบต์ และแบรคิโอพอด จากการวิเคราะห์ตามหลักทางธรณีวิทยาเนินหินด้านทิศตะวันออกเป็นหินปูน พบซากดึกดำบรรพ์เป็นนอติลอยด์ แกรปโตไลต์ และแบรคิโอพอด เนินหินทิศตะวันตกเป็นหินตะกอนเรียงสลับชั้นหิน ประกอบด้วยหินทรายแป้งเนื้อปูน หินดินดาน และหินปูน พบซากดึกดำบรรพ์แกรปโตไลต์ในหินดินดาน และพบซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ สโตรมาโตไลต์ และไทรโลไบต์ในหินปูน เมื่อนำซากดึกดำบรรพ์ที่ได้จากการค้นพบไปเปรียบเทียบอายุกับยุคตามตารางธรณีกาลทางธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณีพบว่าซากดึกดำบรรพ์บริเวณพื้นที่ศึกษาอยู่ในช่วงยุคแคมเบรียนถึงยุคเพอร์เมียน หรือประมาณ 545-295 ล้านปี |