รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่
ชื่อบทความ |
ผลของระยะเวลาการปรับสภาพด้วยความร้อนที่มีต่อศักยภาพการผลิตก๊าซมีเทนจากเส้นใยปาล์ม |
ประเภทการตีพิมพ์ |
วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร |
วารสารวิชาการซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต |
ผู้แต่ง |
สุชีวรรณ ยอยรู้รอบ
|
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ |
2 ก.ย. 2564 |
ปีที่ |
6 |
ฉบับที่ |
1 |
หมายเลขหน้า |
1-12 |
ลักษณะบทความ |
|
Abstract |
เส้นใยปาล์มเป็นชีวมวลที่มีลิกนินเป็นองค์ประกอบ ลิกนินและเฮมิเซลลูโลสทำให้การย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศเพื่อผลิตก๊าซมีเทนได้ยาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาการปรับสภาพเส้นใยปาล์มด้วยน้ำร้อน (30 60 120 180 240 และ 300 นาที) ที่มีต่อศักยภาพการผลิตก๊าซมีเทน ควบคุมอุณหภูมิในการปรับสภาพ 180 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับสภาพเส้นใยปาล์มด้วยน้ำร้อน คือ 30 นาที ซึ่งใช้เวลาในการปรับสภาพน้อยที่สุด มีศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทน เท่ากับ 87.7+1.1 LCH4/kgVS สามารถผลิตก๊าซมีเทนได้สูงกว่าเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพร้อยละ 34.5 และได้ผลผลิตก๊าซมีเทนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากผลผลิตก๊าซมีเทนที่ระยะเวลาปรับสภาพนานกว่า ซึ่งเป็นผลจากการตกค้างของลิกนิน ผลจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดการปรับสภาพน้ำร้อนร่วมกับการลดปริมาณลิกนินเพื่อส่งเสริมศักยภาพผลิตก๊าซมีเทนที่สูงขึ้น |